กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ได้ออกประกาศเรื่องเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับเกณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารและมือผู้สัมผัสอาหาร ดังนี้

 

ภาชนะสัมผัสอาหาร เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ และตะเกียบ เป็นต้น

  • จำนวนจุลินทรีย์ CFU/ชิ้นภาชนะหรือต่อคู่ ……….. น้อยกว่า 1,000
  • Staphylococcus aureus/ชิ้นภาชนะหรือต่อคู่ ….. ไม่พบ
  • Salmonella spp./ชิ้นภาชนะหรือต่อคู่ …………….. ไม่พบ

 

พื้นผิวสัมผัสอาหาร เช่น พื้นผิวโต๊ะประกอบอาหาร เป็นต้น

  • จำนวนจุลินทรีย์ CFU/ตารางเซนติเมตร ………….. น้อยกว่า 100
  • Escherichia coli/50 ตารางเซนติเมตร …………… ไม่พบ
  • Staphylococcus aureus/50 ตารางเซนติเมตร … ไม่พบ
  • Salmonella spp./50 ตารางเซนติเมตร …………… ไม่พบ
  • Clostridium perfringens/50 ตารางเซนติเมตร …. ไม่พบ
  • Bacillus cereus/50 ตารางเซนติเมตร …………….. ไม่พบ

 

มือผู้สัมผัสอาหาร

  • จำนวนจุลินทรีย์ CFU/มือ …………………………….. น้อยกว่า 500
  • Escherichia coli หรือ Fecal coliforms/มือ ……… ไม่พบ
  • Staphylococcus aureus/มือ ……………………….. ไม่พบ
  • Salmonella spp./มือ ………………………………….. ไม่พบ

 

วิธีการตรวจภาชนะสัมผัสอาหาร

วิธีการสุ่มตัวอย่างจำนวนชิ้นภาชนะ/ตัวอย่าง

  1. สุ่มตัวอย่างชนิดเดียวกัน 4 ชิ้นภาชนะ/ตัวอย่าง
  2. ภาชนะที่ใช้เป็นคู่ ได้แก่ ตะเกียบหรือช้อน-ส้อม ให้สุ่มดังนี้- ตะเกียบสุ่ม 4 คู่/ตัวอย่าง- ช้อน-ส้อม ถ้าตรวจแยก สุ่มอย่างละ 4 ชิ้น/ตัวอย่าง

    – ถ้าตรวจเป็นคู่ช้อน-ส้อม ให้สุ่ม 4 คู่/ตัวอย่าง

  3. ภาชนะที่ใช้เพียงชิ้นเดียว เช่น เขียง มีด ให้สุ่ม 1 ชิ้นภาชนะ

 

วิธีการทดสอบ (swab) ภาชนะ

ใช้ไม้ swab 1 ไม้ต่อ 1 ตัวอย่าง สุ่มเช็ด (swab) ภาชนะดังนี้

  • แก้วน้ำ ถ้วยกาแฟ เช็ดส่วนที่สัมผัสของเหลวด้านในภาชนะ
  • จาน ชาม ถ้วย หม้อ เช็ดส่วนที่สัมผัสอาหารด้านในภาชนะ
  • ตะเกียบ เช็ดโดยรอบจากปลายขึ้นมา 1 ½ นิ้ว
  • ช้อน-ส้อม เช็ดส่วนที่สัมผัสอาหารทั้ง 2 ด้าน
  • มีด เช็ดส่วนที่ใช้ตัดอาหารทั้งสองด้าน
  • เขียง ถาด เช็ดตรงกลางภาชนะ พื้นที่ 50 ตารางเซนติเมตร

 

วิธีการทดสอบ (swab) พื้นผิวสัมผัสอาหาร

พื้นที่ที่ใช้ swab ตัวอย่าง: เช็ดพื้นที่ 50 ตารางเซนติเมตร เช่น 2 x 25 ตารางเซนติเมตร หรือ 5 x 10 ตารางเซนติเมตร เป็นต้น

 

วิธีการทดสอบ (swab) มือผู้สัมผัสอาหาร

  1. เช็ดมือที่สัมผัสอาหารข้างที่ถนัดมือเดียว โดยหงายฝ่ามือขึ้น ใช้ไม้ swab เช็ดฝ่ามือและรอบนิ้วทุกนิ้ว หรือเช็ดส่วนของมือที่ใช้หยิบจับอาหารหรือสัมผัสอาหาร
  2. ควรทดสอบหลังการล้างทำความสะอาดมือแล้ว

 

Download ประกาศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (11 ม.ค. 2560)

 

Download คู่มือ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

error: Content is protected !!