กระบวนการซักผ้า สําหรับอุตสาหกรรม

 

กระบวนการซักผ้าสําหรับอุตสาหกรรมแบบต่างๆ มักจะพบปัญหาในการที่จะกําจัดคราบสกปรกต่างๆที่ติดมากับเสื้อผ้าที่ใช้งานมาแล้ว อาทิเช่น การซักผ้าขาวในโรงแรม การซักคราบเลือดในอุตสาหกรรมแปรรูปไก่ คราบสกปรกและกลิ่นที่ติดมากับเสื้อผ้าในธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ซึ่งในการจัดการปัญหาเหล่านี้จําเป็นต้องใช้นํ้ายาที่มีประสิทธิภาพสูงและระบบเติมนํ้ายาแบบอัติโนมัติเพื่อให้สามารถตั้งโปรแกรมการใช้นํ้ายาที่เหมาะสมกับลักษณะคราบที่เจอในแต่ละแบบได้

ชนิดของนํ้ายาซักผ้าประสิทธิภาพสูง

1.นํ้ายาซักล้าง จะเป็นนํ้ายาที่ใช้ในการกําจัดคราบสกปรกพวกคราบไขมัน โปรตีนต่างๆที่ฝังอยู่ในเสื้อผ้า ซึ่งนํ้ายาในกลุ่มนี้จะประกอบด้วยส่วนผสมหลักคือสารลดแรงตึงผิว
2.นํ้ายาขจัดคราบไขมัน ประกอบด้วยสารที่ช่วยละลายคราบสกปรกต่างๆออกจากพื้นผิว โดยเฉพาะคราบไขมันซึ่งเป็นคราบที่กําจัดออกได้ยาก
3.นํ้ายาเสริมความเป็นด่าง คราบสกปรกที่ติดอยู่ที่เสื้อผ้าส่วนใหญ่ มักจะเป็นคราบพวกสารอินทรีย์พวกไขมัน โปรตีน ซึ่งสารที่จะสามารถละลายคราบสกปรกเหล่านี้ออกมาได้ดีคือสารที่เป็นด่างพวก NaOH หรือ KOH ซึ่งการเติมนํ้ายากลุ่มนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการซักล้างได้ดียิ่งขึ้นไปอีก จัดการผ้าสกปรกแบบง่ายๆ
4.สารฟอกขาวหรือสารเสริมออกซิไดส์หากต้องการซักผ้าที่เป็นสีขาว การใช้สารฟอกขาวกลุ่มคลอรีน เป็นอีกทางเลือกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สารกลุ่มนี้จะเข้าไปทําการตัดลดพันธะ (Chain bonding) ซึ่งทําให้คราบสกปรกที่มีการจับกันในลักษณะเป็น Long-chain bonding ขนาดยาว เช่นคราบเลือด ต่างๆ ลดขนาดให้เป็น Short-chain bonding ที่สั้นลง ทําให้สามารถหลุดออกมาเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น แต่ถ้า เป็นสารชนิดคลอรีนจะไม่นิยมใช้กับผ้าสีเนื่องจากทําให้สีซีดลง
5.สารเสริมออกซิไดส์นิยมใช้กับผ้าสีมีหน้าที่คล้ายกับการเติมสารกลุ่มคลอรีนในผ้าขาวคือทําการตัดลดพันธะ (Chain bonding) ซึ่งทําให้คราบสกปรกที่มีการจับกันในลักษณะเป็น Long-chain bond ขนาดยาว เช่นคราบเลือดต่างๆ ลดขนาดให้เป็น Short-chain bonding ที่สั้นลง ทําให้สามารถหลุดออกมา เสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น
6.สารซักล้างชนิดกรด ช่วยในการกําจัดคราบสนิมนํ้า คราบเหลืองต่างๆและยังทําหน้าที่ในการปรับสภาพของผ้าที่ผ่านการซักด้วยด่างให้เป็นกลางเพื่อลดความระคายเคืองที่จะเกิดกับผู้สวมใส่อีกด้วย
7.นํ้ายาปรับผ้านุ่ม มักจะถูกเติมไปในขั้นตอนท้ายของกระบวนการซักผ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสบายในการสวมใส่ แต่ทั้งนี้หากเติมปริมาณที่มากเกินไปจะทําให้เกิดการสิ้นเปลืองและทําให้เสื้อผ้าลดความสามารถได้ในการดูดซับนํ้าลงไป

กระบวนการเติมนํ้ายาเข้ากับเครื่องซัก

ลักษณะการเติมนํ้ายาเพื่อใช้งานซักผ้านั้นมีอยู่ 2 รูปแบบคือ
1.การเติมด้วยการยกเทด้วยตนเอง ซึ่งก็ใช้การวัดหรือตวงนํ้ายาต่างๆด้วยตัวบุคคล ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ
2.การเติมด้วยระบบ Automatic dispenser หรือระบบ Feed แบบอัติโนมัติเหมาะกับการซักในระดับอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผ้าที่ทําการซักมีหลากหลายชนิดและหลายประเภท ลองนึกภาพถึงการที่ต้องซักที่มีความสกปรกต่างกัน 5 แบบ หากต้องทําการเติมนํ้ายาตามสูตรต่างๆเพื่อให้ซักล้างได้ดีย่อมมีโอกาสเกิดความสับสนได้ง่าย แต่หากการซักโดยการตั้งโปรแกรม 1-5 สําหรับผ้าทั้ง 5 แบบการเลือกโปรแกรม 1-5 ตามที่ต้องการแล้วให้ระบบทํางานแบบอัติโนมัติย่อมทําให้ทํางานสะดวกและให้ความเที่ยงตรงของปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
โปรแกรมการซักผ้าชนิดต่างๆด้วยระบบ Automatic dispenser สําหรับเครื่องซักผ้าขนาด 30 kgs.

Name
Description
ผ้าขาวสกปรกมาก
ผ้าขาวสกปรกปานกลาง
ผ้าสีสกปรกมาก
ผ้าสีสกปรกน้อย
FL-DT101
น้ำยาซักล้าง
50
50
50
50
FL-DG201
น้ำยาขจัดไขมันบนผ้า
75
60
60
60
FL-LL301
ด่างเสริมการซักล้าง
240
210
210
150
FL-CB401
สารฟอกขาว สำหรับผ้าขาว
60
45
FL-OX402
สารเสริมออกซิไดส์ สำหรับผ้าขาวและผ้าสี
150
120
120
90
FL-SR501
สารซักล้างชนิดกรด
45
45
45
40
FL-SF601
น้ำยาปรับผ้านุ่ม
100
100
100
100
(Unit : ml.)

บทสรุป

นํ้ายาซักผ้าสําหรับสเกลที่เป็นอุตสาหกรรม จะมีการออกแบบมาให้มีลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทเพื่อให้การใช้งานจริงสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีไม่ว่าสถานการณ์หรือผ้าที่รับเข้ามาจะเป็นแบบไหน ซึ่งการกําหนดโปรแกรมการซักล้างที่แน่นอนด้วยระบบ Feed นํ้ายาแบบอัติโนมัติจะเป็นตัวที่ช่วยให้พนักงานทํางานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทําให้ประสิทธิภาพที่ออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอย่างสมํ่าเสมอ

error: Content is protected !!